การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลและอากาศ (CARGO INSURANCE)

เนื่องจากภยันอันตรายและความเสียหายต่อสินค้าที่ทำการขนส่งทางทะเลนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้ เช่น คลื่น ลมมรสุมที่จะทำให้เรืออัปปาง พินาศ หรือสินค้าที่บรรทุกในเรือเสียหายได้ ดังนั้นการประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะรับภาระความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายหรือสูญเสียของทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการขนส่งนั้น

สิ่งที่รับประกันภัย

สินค้าต่าง ๆ ที่นำเข้ามาในประเทศ หรือขนส่งออกต่างประเทศ

ความคุ้มครองมาตรฐาน

ตามข้อคุ้มครอง และเงื่อนไขที่เรียกว่า Institute Clauses (ICC)

ICC (A) คุ้มครองความสูญเสีย และความเสียหายจากภัยทุกชนิดจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด

ICC (B) คุ้มครองทุกอย่างตามที่ระบุในความคุ้มครองแบบ Clause (C) รวมทั้งคุ้มครองความเสียหาย หรือ สูญเสียอันเกิดจากแผ่นดินไหว, ภูเขาไฟระเบิด, ฟ้าผ่า, สินค้าถูกน้ำทะเลซัดตกเรือ, น้ำจากแม่น้ำ, ทะเลสาบ, หรือน้ำรั่วไหลเข้ามาในเรือ, ในยานพาหนะ, ในระวางเรือในตู้ลำเลียง หรือในสถานที่เก็บสินค้า, สินค้าทั้งหีบห่อเสียหายโดยสิ้นเชิง เพราะตกจากเรือ, ความเสียหายระหว่างขนถ่ายสินค้า และสินค้าเปียกน้ำ (ไม่รวมน้ำฝน)

ICC (C) คุ้มครองความเสียหาย หรือสูญเสีย (ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด) เนื่องจากเพลิงไหม้, ระเบิดเรือเกยตื้น, จมหรือล่ม, ยานพาหนะทางบกพลิกคว่ำหรือตกจากราง, เรือชนหรือโดนวัตถุอื่น, การขนส่งสินค้าลงจากเรือ ณ ท่าหลบภัย, ความเสียหายที่เกิดกับส่วนรวม, สินค้าถูกโยนทิ้งทะเล

ความคุ้มครองพิเศษที่สามารถซื้อเพิ่มเติมได้

ความเสียหายหรือการสูญเสียจากการโจรกรรม ขโมย, การรับสินค้าไม่ครบจำนวนที่ส่งจากต้นทาง, การแตกหัก, การบุบงอ, ถลอกฉีกขาด, การเปียกน้ำฝน น้ำจืด น้ำทะเล, การเปรอะเปื้อน หรือถูกเจือปนโดยสิ่งแปลกปลอม, ความเสียหายจากการใช้ตะขอเกี่ยวหรือจากตะปู, การรั่วไหล หรือขาดจำนวนไป, ถูกน้ำกรด, หนูและแมลงกัด

ข้อยกเว้นที่สำคัญ

  1. ความสูญเสีย หรือเสียหายจากการกระทำโดยมิชอบของผู้เอาประกันภัย การจงใจกระทำเพื่อให้สินค้านั้นเกิด

ความเสียหายโดยหวังเงินค่าประกัน, การรั่วไหลไปตามปกติ, การสึกหรอโดยธรรมชาติของสินค้า, การล่าช้า

และความบกพร่อง ในตัวสินค้าเอง

  1. ความไม่สมบูรณ์ และความไม่พร้อมที่จะออกเดินทะเลของยานพาหนะ
  2. ภัยสงคราม, การใช้อาวุธสงคราม, ปรมาณู หรือการแตกตัวของนิวเคลียร์
  3. ความเสียหาย หรือสูญเสียที่เกิดจาก หรือมีผลจากการนัดหยุดงาน, การก่อการร้าย
  • ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องการ
  1. ประเภทของเงื่อนไขความคุ้มครอง (Condition of Insurance) โดยทั่วไปแล้วเงื่อนไขการเอาประกันที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ F.P.A. , W.A.(B) All Risk (A) and War & SRCC
  2. ประเภทของสินค้า  และรายละเอียดของสินค้าว่าเป็นประเภทสินค้าอะไร เสียหายได้ง่ายหรือไม่อยู่ในประเภทอันตรายหรือไม่
  3. ลักษณะการบรรจุหีบห่อ ว่ากระทำแน่นหนาและปลอดภัยเพียงพอหรือไม่
  4. เรือที่ใช้บรรทุก (ชื่อเรือ ,รายละเอียดเกี่ยวกับเรือ) อายุ ขนาดระวาง และน้ำหนักของเรือ เรือที่มีอายุมากและระวางน้ำหนักต่ำและไม่ได้วิ่งประจำเส้นทางถือว่ามีอัตราการเสี่ยงภัยมากกว่าเรือใหม่
  5. เส้นทางการขนส่ง  ตั้งแต่จุดเริ่มต้นถึงจุดหมายปลายทาง อาจเริ่มจากโกดังเก็บสินค้าไปลงเรือใหญ่ ซึ่งบางครั้งจอดอยู่ภายนอกบริเวณท่าเรือ โดยต้องลำเลียงทางเรือฉลอม ก็ถือว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยมากกว่าปกติ
  6. มูลค่าของสินค้า ควรระบุว่าเป็นราคาซื้อขายในเงื่อนไข FOB , C&F หรือ CIF เพราะโดยปกติแล้วการประกันภัยทางทะเลจะถือเอาราคา C&F บวกอีก 10% สำหรับการสั่งซื้อจากต่างประเทศ และราคา CIF บวกอีก 10% สำหรับการส่งออกไปยังต่างประเทศ 10 % ที่เพิ่มไปนั้นถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดส่งสินค้า
  7. ประวัติของผู้เอาประกัน และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องถ้ามี
  • อัตราเบี้ยประกันภัย

จะพิจารณาจาก

  1. ประเภทของเงื่อนไขการคุ้มครอง และลักษณะของสินค้า ความแข็งแรงของหีบห่อ
  2. เรือที่บรรทุก ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1,000 ตันกรอส และอายุไม่เกิน 15 ปี
  3. ระยะทางและลักษณะการขนส่ง ถ้ามีการขนส่งหลายทอดมีการถ่ายลำ สินค้าจะต้องถูกจับต้องหลายครั้ง การขนส่งเป็นระยะทางไกลย่อมเสี่ยงภัยมากกว่าการขนส่งระยะสั้น
  4. สภาพเมืองท่าต้นทาง/ปลายทาง เมืองท่าบางแห่งมีโกดังเก็บสินค้าไม่เพียงพอ สินค้าต้องวางกลางแจ้งตากแดดตากฝนบางแห่งบกพร่องในเรื่องการรักษาความปลอดภัย จนสินค้าถูกโจรกรรมเป็นประจำ
  5. ประวัติการเรียกค่าเสียหายของผู้เอาประกัน ผู้เอาประกันภัยบางรายเมื่อรู้ว่าสินค้าจะมาก็รีบไปออกของโดยไม่ชักช้า ดังนั้นการเสียหายหรือสูญเสียจึงมีน้อย ลูกค้าประเภทนี้จึงมักเสียเบี้ยประกันภัยในอัตราต่ำเป็นพิเศษ